การนอนเป็นอาหารสมองสำคัญ เพราะการนอนจะช่วยทำให้ร่างกายได้พักผ่อน สร้างภูมิต้านทานโรค ทำให้อารมณ์ดี สดชื่นแจ่มใส
คิดอ่านอะไรได้หลักแหลม จดจำสิ่งต่างๆ ที่เรียนรู้ไปได้อย่างแม่นยำ
ดังนั้นการนอนเป็นเรื่องสำคัญของคนทุกคน และควรสนับสนุนให้เด็กๆ นอนให้เพียงพอ
การดูแลลูกน้อยนับแต่เป็นทารก ลูกจะนอนนานแค่ไหน? แล้วคุณพ่อคุณแม่จะได้หลับเต็มอิ่มไหม?
สารพันคําาถามโดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกอาจเป็นช่วงเวลาที่โหดที่สุดสําาหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่
มาดูกันดีกว่าครับว่า คุณพ่อคุณแม่ต้องทําอย่างไรบ้าง?
อ.พญ.ฉัตรฉาย เปรมพันธ์พงษ์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เล่าให้ฟังว่า
การดูแลลูกน้อยหลังจากออกจากโรงพยาบาล จะว่า ยากก็ยากจะว่าง่ายก็ง่าย อยู่ที่เราต้องเข้าใจพัฒนาการของเขา เด็กส่วนใหญ่จะใช้เวลาไปกับการนอนมากในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นจะเริ่มตื่นเพื่ออยากจะทําาอย่างอื่นมากขึ้น เช่น ตื่นขึ้นมาเล่น ตื่นขึ้นเพราะเปียก ตื่นขึ้นมาเพราะหิว
ซึ่งมีคําาถามมากมายที่คุณพ่อคุณแม่มักจะถามอยู่เสมอๆ ดังนี้
เนื่องจากช่วง 1-2 เดือนแรก ลูกน้อยยังคอไม่แข็งดี สถาบันการแพทย์ทั่วโลกและในประเทศไทยแนะนําให้ลูกน้อยนอนหงาย เพราะเป็นท่าที่ปลอดภัยมากที่สุด แต่ถ้าอยากให้ลูกน้อยนอนคว่ำหรือนอนตะแคงเพราะความเชื่อที่ว่าหัวจะสวย คุณแม่ควรจะต้องดูลูกน้อยอยู่ตลอดเวลาอย่าละสายตาเพื่อความปลอดภัยในการหายใจของเขา เช่น หัวอาจจะไปซุกอยู่ในที่นอนทําาให้หายใจไม่สะดวก จนอาจเกิดอันตรายได้
เด็กแต่ละวัย …. นอนแตกต่างกันอย่างไร?
วัยทารก
วัยนี้จะมีภาวะหลับตื่นสลับกันไปตลอดทั้งวัน แต่เมื่ออายุได้ประมาณ 4 เดือนจะเริ่มหลับกลางคืนได้ยาวประมาณ 6 ชั่วโมงและเมื่ออายุ 6 เดือนจะสามารถหลับได้นานถึง 10 ชั่วโมงแต่ก็ยังสามารถตื่นได้ในระหว่างการนอนหลับ ซึ่งทารกบางคนสามารถกลับไปหลับต่อได้ด้วยตัวเอง แต่บางคนต้องการการกล่อมจึงจะหลับต่อได้
วัยเรียน
วัยนี้ต้องการการนอนประมาณ 9 – 12 ชั่วโมง ซึ่งเด็กแต่ละคนอาจต้องการจำนวนชั่วโมงในการนอนแตกต่างกัน
คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตว่าลูกนอนพอหรือไม่ ได้จากพฤติกรรมของลูกระหว่างวัน เช่น สามารถปลุกตื่นได้ง่าย ไม่ผล็อยหลับตอนกลางวัน (ถามได้จากคุณครู) และเมื่อเข้านอนสามารถหลับได้ภายใน 15 – 30 นาที
วัยรุ่น
วัยนี้ต้องการเวลานอน 8 -10 ชั่วโมง แต่ลักษณะการนอนของเด็กวัยนี้จะเปลี่ยนไปจากวัยเรียน โดยที่วัยรุ่นจะเข้านอนดึกและตื่นสายซึ่งเป็นภาวะปกติเมื่อเด็กเข้าสู่วัยรุ่น ดังนั้นในช่วงเปิดเทอมที่วัยรุ่นต้องมาโรงเรียนในตอนเช้าจะมีผลทำให้วัยรุ่นนอนไม่พอได้บ่อย และอาจกระทบต่อการเรียนของเขา และวัยรุ่นมักจะมานอนชดเชยในวันหยุด
สิ่งที่ควรทำ และ ไม่ควรทำ ในการสอนลูกให้มีนิสัยการนอนที่ดี
ควรทำ
1. สร้างกิจวัตรก่อนนอนให้เป็นเวลาพิเศษที่จะพูดคุยกับลูก เพื่อให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายและปลอดภัย
2. ให้ลูกเข้านอนและตื่นนอนตรงเวลา
3. บรรยากาศห้องนอน สำหรับเด็กเล็กสามารถใช้เสียงที่เป็นจังหวะสม่ำเสมอไม่ดัง ไม่กระตุ้น เป็นเสียงที่ช่วยกล่อมให้เด็กนอน
4. สร้างกิจวัตรในระหว่างวันให้มีตารางเวลาสม่ำเสมอ
5. ควรปิดไฟ หรือ หรี่แสงไฟในห้องนอน เมื่อถึงเวลานอนและควรให้เด็กได้เจอแสงแดดธรรมชาติในเวลากลางวัน
ไม่ควรทำ
1. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่เร้าความตื่นเต้น หรือ กิจกรรมที่ต้องเผชิญกับแสงที่จ้ามากเกินในช่วงเวลา 2 – 3 ชั่วโมงก่อนนอน
2. ในทารกควรเลี่ยงการให้เด็กหลับคาขวดนม
3. อย่าให้การนอนเกิดจากการขู่ หรือ เป็นการลงโทษจากการทำความผิด ควรสอนให้เด็กรับรู้ว่าการนอนเป็นเวลาของความสุข
4. หลีกเลี่ยงการเอาของเล่นมาให้เด็กเล่นเมื่อถึงเวลานอน
5. หลีกเลี่ยงอาหารหนัก หรือ ชา กาแฟ น้ำอัดลมที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ
แหล่งที่มา :
https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/child/02212017-1525
Rupal Christine Gupta, MD, https://kidshealth.org/en/parents/sleep.html
กิติยา สุวรรณสิทธิ์ , การดูแลทารกเมื่อกลับบ้าน, Rama Today ฉบับที่ 14 เดือน พฤษภาคม 2557